เมนู

อรรถกถาอากาสกถา


ว่าด้วย อากาศ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศ. ในเรื่องนั้น อากาศมี 3 อย่าง คือ ปริจเฉ-
ทากาส คือช่องว่างอันเป็นที่กำหนด กสิณุคฆาฏิมากาส คือช่องว่างที่
เพิกขึ้นของกสิณ และอชฏากาส คือช่องว่างของท้องฟ้า แม้คำว่า ดุจฉากาส
คือช่องว่างอันว่างเปล่า ก็เป็นชื่อของอชฏากาสนั้นนั่นแหละ. บรรดา
อากาศเหล่านั้น ปริจเฉทากาส คือของว่างที่คั่นอยู่ระหว่างรูปกับรูป เป็น
สังขตะ ส่วนอากาศที่เหลือแม้ทั้ง 2 นี้สักว่าเป็นบัญญัติ.
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และ
มหิสาสกะทั้งหลายว่า อากาศแม้ทั้ง 2 คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฎากาส
ไม่ใช่สังขตะ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอากาสกถา จบ

อากาโสสนิทัสสโนติกถา



[1113] สกาวาที อากาศเป็นสนิทัสสนะ คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น
สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ
มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1114] ส. อากาศเป็นสนิทัสสนะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1115] ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้1
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ

1. ม.อุ. 14/814.,สํ.นิ.16/164.